วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ก.ค. 2562
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๖ – ๒๕๖๑ เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน มีบริษัทเข้ามาลงทุนแล้วจำนวน ๑๑๗ บริษัท คิดเป็นมูลค่า ๑๗๒,๖๒๙,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ และมีแผนการลงทุนเพิ่มเติมอีกคิดเป็นมูลค่า ๔๒๘,๓๖๒,๐๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้มีบริษัทชั้นนำที่เข้ามาลงทุนแล้ว อาทิ บริษัทเอสซีลอร์ลาวจำกัด ผลิตเลนส์แว่นตา บริษัทแอโร่เวิร์คลาวจำกัด ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน บริษัทนิคอนลาวจำกัด ผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบกล้องถ่ายรูป และบริษัทซิเลซติกาลาวจำกัด ผลิตโทรศัพท์ประชุมทางไกล เป็นต้น
การลงทุนข้างต้นสามารถสร้างงานได้จำนวน ๔,๗๒๐ อัตรา แบ่งเป็น แรงงานลาว ๔,๕๓๗ คน และแรงงานต่างประเทศ ๑๘๓ คน สร้างรายได้ให้รัฐตั้งแต่ปี ๒๕๕๔-๒๕๖๑ จำนวน ๓,๘๘๔,๘๙๘ ดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้ง เขตดังกล่าวยังมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ภายในเขตมูลค่า ๑,๕๙๑,๕๘๗,๖๓๕ ดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้ามูลค่า ๑,๕๙๙,๒๗๓,๐๘๙ ดอลลาร์สหรัฐ
ปัจจุบัน สปป.ลาว มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน ๑๒ แห่ง สามารถดึงดูดการลงทุนจากทั้งภายในและต่างประเทศแล้ว จำนวน ๕๓๒ บริษัท คิดเป็นมูลค่า ๘,๘๗๘,๓๐๙,๙๙๐ ดอลลาร์สหรัฐ และมีแผนขยายการลงทุนอีก จำนวน ๓๔,๗๖๑,๓๗๖,๑๕๒ ดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่าการลงทุนจริง ๓,๒๗๙,๔๗๓,๔๖๕ ดอลลาร์สหรัฐ สร้างรายได้ จำนวน ๒๘,๙๗๔,๓๖๔ ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการนำเข้าวัตถุดิบ เครื่องจักรกล และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตและการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน มูลค่า ๒,๓๑๕,๕๔๖ ดอลลาร์สหรัฐ สามารถส่งออกสินค้า มูลค่า ๑,๖๖๗,๕๙๖,๐๖๔ ดอลลาร์สหรัฐ และสร้างงานได้ทั้งหมด ๘,๘๗๖ ตำแหน่ง
จากการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเห็นว่า การดำเนินการในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษประสบผลสำเร็จและเป็นไปตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ๕ ปี ฉบับที่ ๘ (๒๕๕๙-๒๕๖๓) ทั้งนี้ ปัจจัยแห่งความสำเร็จของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง ๑๒ แห่ง ขึ้นอยู่กับการบริหารงานเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ต้องเป็นไปตามตามระเบียบกฎหมาย รวมทั้งมีการติดตามและรายงานผลอย่างเป็นเอกภาพ มีการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและปรับปรุงกลไกการดำเนินงาน ให้มีความกะทัดรัดและสะดวกยิ่งขึ้นแก่นักลงทุน
* * * * * * * * * * * * * *
ที่มา : หนังสือพิมพ์สะหวันพัฒนา ฉบับวันที่ ๔-๗ มกราคม ๒๕๖๒
รูปภาพประกอบ