ข้อมูลทั่วไปแขวงสาละวัน

ข้อมูลทั่วไปแขวงสาละวัน

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ต.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 18,900 view

ที่ตั้ง 
แขวงสาละวันตั้งอยู่ตอนใต้ของ สปป. ลาว 

ทิศเหนือ

ติดกับแขวงสะหวันนะเขต

ทิศใต้

ติดกับแขวงจำปาสัก

ทิศตะวันออก

ติดกับแขวงเซกอง และจ.เถื่อเทียนเว้ เวียดนาม

ทิศตะวันตก

ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี


การแบ่งเขตการปกครอง 
8 เมือง ได้แก่ สาละวัน ละคอนเพ็ง คงเซโดน เหล่างาม ตุ้มลาน ตะโอ้ย สะม่วย วาปี 

ภูมิประเทศ

แขวงสาละวันมีพื้นที่ทั้งหมด 10,691 ตร.กม. ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

เขตภูเขา

(เมืองตะโอย และสะม่วย) คิดเป็นร้อยละ 40 ของเนื้อที่แขวงฯ พื้นที่ค่อยๆ ลาดชัน จึงเหมาะสมแก่การปลูกไม้อุตสาหกรรม ไม้ผล กาแฟ และเลี้ยงสัตว์ใหญ่

เขตที่สูง

(เมืองเหล่างาม) คิดเป็นร้อยละ 20 ของพื้นที่แขวงฯ เหมาะสำหรับการปลูกกาแฟ เร่ว (หมากแหน่ง) กล้วย ถั่วดิน ถั่วเหลือง มะเดื่อ ผักเมืองหนาว ฝ้าย และไม้ผล

เขตที่ราบ

(เมืองสาละวัน เมืองวาปี เมืองตุ้มลาน เมืองคงเซโดน และเมืองละคอนเพ็ง) คิดเป็นร้อยละ 40 ของพื้นที่แขวงฯ เป็นทุ่งกว้าง อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกข้าว พืชตระกูลถั่ว ประมง


ประชากร

  • ประชากรแขวงฯ ประมาณ 442,000 คน (2563)
  • ความหนาแน่นของประชากร 41 คน/ตร.กม. มีจำนวน 624 หมู่บ้าน
  • 14 ชนเผ่า ได้แก่ ลาวลุ่ม กะตาง ซ่วย ปะโก ละเวน ตะโอย พูไท อิน กะโด แงะ ต้ง กะตู กะไน และอาลัก โดยชนเผ่าลาวลุ่มเป็นประชากรส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 55.78
  • ประชากรที่อยู่ในเกณฑ์ยากจนคิดเป็น 18 % ของประชากรแขวงฯ
  • มีแรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก (เวียดนามใช้แรงงานลาวปลูกยางพารา)

 

รายได้ต่อหัวต่อปี 
710 ดอลลาร์สหรัฐ (2555) 

ทรัพยากรธรรมชาติ

  • ทรัพยากรน้ำ 
         แขวงสาละวันมีเขื่อนไฟฟ้าและอ่างเก็บน้ำซึ่งอาจผลิตไฟฟ้าและเป็นแหล่งน้ำจำนวนมาก อาทิ
  • เขื่อนเซเซ็ด 1
  • กำลังการผลิต 45 MW เชื่อมกับห้วยเหาะ ส่งขายไทย ร้อยละ 90 ลงทุนโดยญี่ปุ่นร่วมกับการไฟฟ้าลาว
  • เขื่อนเซเซ็ด 2
  • กำลังการผลิต 74 MW ส่งขายไทย ลงทุนโดยจีน
  • เขื่อนเซเซ็ด 3
  • กำลังผลิตมากกว่า 50 MW
  • อ่างเก็บน้ำเซโดน 1
  • เงินลงทุน 30 กว่าล้านดอลลาร์สหรัฐ อาจผลิต 
    ไฟฟ้า และเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งผลิตทางการเกษตร
  • อ่างเก็บน้ำเซโดน 2
  • มีขนาดใหญ่
  • อ่างเก็บน้ำเซโดน 3
  • เมืองวาปี และ น้ำตกแก้งกุก ถ้าได้รับการพัฒนา จะสวยงามมาก
  • แหล่งน้ำต่างๆ อาทิ เซละนอง เซละมัง
  • แร่ธาตุ ได้แก่ บ่อถ่านหิน บ่อเหล็กเมืองตุ้มลาน (50 กม. จากตัวเมืองสาละวันด้านใกล้สะหวันนะเขต) บ่อหินปูนสำหรับทำโรงงานซีเมนต์ บริษัทจีนขอเข้ามาเริ่มผลิตในปี 2006 คาดว่าจะมีผลผลิต 2 – 3 แสนตันต่อปี 
  • ที่ดิน  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่เรียบตามแม่น้ำเซโดน เซกอน และแม่น้ำโขง เหมาะแก่การปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์เล็ก มีพื้นที่ 107,734 เฮกตาร์ ที่เมืองตะโอ้ย ได้รับการจัดสรรที่ดินในการทำกสิกรรม 
  • ป่าไม้  มี 707,400 เฮกตาร์ รวมร้อยละ 66 เป็นป่าทึบร้อยละ 45, ป่าเล่า ร้อยละ 55 ป่าสงวนแห่งชาติ 3 แห่ง มี 240,163 เฮกตาร์ ป่าที่ปลูก 2 แห่ง 83,626 เฮกตาร์ และป่าป้องกัน 13,600 เฮกตาร์

  

การค้ากับต่างประเทศ/จุดผ่านแดน

รายชื่อเอกชนไทยที่ลงทุนในแขวงสาละวัน

รวม 7 บริษัท ได้แก่

  1. บริษัท ซะนะไซผลิตภัณฑ์และอบแห้งสาลี จำกัด
  2. บริษัท โรงแป้งสาละวัน จำกัด
  3. บริษัท ลาวพืชผักการเกษตร ขาออก-ขาเข้า จำกัด
  4. บริษัท สมาร์ทเคเค แอสเซ็ท จำกัดคนเดียว
  5. บริษัท รัดสะนี ขาออก-ขาเข้า จำกัด
  6. บริษัท ลาว-ไทย พัฒนาการท่องเที่ยว จำกัด
  7. บริษัท ปุ๋ยอินทรีย์ ส. เขมราฐ จำกัดคนเดียว

การลงทุนจากเวียดนาม อาทิ บ. กาวซู Daklak ปลูกยางพาราในพื้นที่มากกว่า 20,000 เฮกตาร์ เพื่อส่งให้โรงงาน ยางพาราที่จะสร้างต่อไปในเมืองเหล่างาม บ.หูฟูโก ปลูกมันสำปะหลังและสร้างโรงงานบดแป้งมันสำปะหลังที่เมืองเหล่างาม 

การลงทุนจากจีน อาทิ บ. Zhong Ya Yuxi สร้างโรงงานซีเมนต์ขนาดใหญ่มูลค่าการลงทุน 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่เมืองสาละวัน คาดว่าจะผลิตซีเมนต์ได้ปีละ 4 – 5 แสนตัน


โครงการที่แขวงฯ ต้องการให้มีการลงทุน 
ได้แก่ การเพาะปลูกพืชอุตสาหกรรมและไม้ผลที่เมืองสาละวัน เมืองตุ้มลาน การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่น อาทิ กาแฟ กล้วย ถั่วลิสง ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง รวมทั้งด้านบริการและการท่องเที่ยว 

มีด่านท้องถิ่น 2 แห่ง คือ 
1. ด่านท้องถิ่นบ้านคันทงไซ เมืองคงเซโดน (ตรงข้ามด่านคันท่าเกวียน ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม 
   จ. อุบลราชธานี) ห่างตัวเมืองสาละวัน 73 กม. 
2. ด่านท้องถิ่นบ้านปากตะพาน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน (ตรงข้ามด่านปากแซง กิ่ง อ.นาตาล 
   จ.อุบลราชธานี) ห่างตัวเมืองสาละวัน 40 กม. 

สาธารณสุข

  • มีโรงพยาบาลแขวง 1 แห่ง (70 เตียง) โรงพยาบาลเมือง 7 แห่ง (105 เตียง) สถานีอนามัย 43 แห่ง (122 เตียง) คลินิกเอกชน 8 แห่ง ร้านขายยา 68 แห่ง

การศึกษา

  • โรงเรียนอนุบาล 46 แห่ง
  • โรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยม 625 แห่ง มีนักเรียนทั้งหมด 36,517 คน ประถมศึกษา 49,654 คน มัธยมต้นและมัธยมปลาย 13,863 คน
  • โรงเรียนชนเผ่า  3 แห่ง
  • โรงเรียนฝึกอบรมวิชาชีพ 1 แห่งและวิทยาลัยครู 1 แห่ง

 

การท่องเที่ยว  
มีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ได้แก่

  • น้ำตกเซเซ็ด
  • น้ำตกตาดเลาะ (มีการนั่งเรือ ขี่ช้าง)
  • น้ำตกแก้งกุก (ใกล้ตัวเมืองเพียง 3 กม. ยังไม่มีนักลงทุน)
  • อ่างเก็บน้ำเซโดน ภูละหิต (ติดอำเภอเขมราฐ จ. อุบลราชธานี)
  • ภูละเมาะ (เหมาะสำหรับทำสนามกอล์ฟ ซึ่ง บ.ฟินแลนด์เคยมาเสนอแต่ยังไม่ได้รับอนุญาต)
  • ร่อยรอยสงคราม อาทิ เส้นทางโฮจิมินห์ สะพานสุพานุวงที่หักกลาง



คมนาคม

  • เส้นทางติดต่อไปยังแขวงอื่นๆ 
         เส้นทางหมายเลข 20 ไปจำปาสัก
  • เส้นทางไปยังเวียดนาม 
         เส้นทางหมายเลข 15 แขวงสาละวันประสงค์จะให้มีการปรับปรุงเส้นทางหมายเลข 15 จากเมืองสาละวันไปเมืองนาปง ซึ่งโครงการนี้จะใช้เงินประมาณ 47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

 

หมายเหตุ: เส้นทางหมายเลข 15 มีความยาวในสาละวัน147 กม. (จากแขวงสาละวันถึงเว้ เวียดนาม 265 กม.) ไปยังเวียดนามได้ 2 ทาง คือ ทางกวางจิ และทางเว้ และเส้นทาง ระหว่างอุบลราชธานี– สาละวัน – เว้ ประมาณ 500 กม.

 


 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ