ที่ตั้ง
อยู่ในภาคใต้ของ สปป. ลาว ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 815 กิโลเมตร ไม่มีพรมแดนติดกับไทย
ทิศเหนือและ ตะวันตกเฉียงเหนือ
|
ติดแขวงสาละวัน
|
ทิศตะวันตกเฉียงใต้
|
ติดแขวงจำปาสัก
|
ทิศใต้
|
ติดแขวงอัตตะปือ
|
ทิศตะวันออก
|
ติดจังหวัดเถื่อเทียนเว้ จังหวัดกวางนัม จังหวัดกอนตูม เวียดนาม
|
ภูมิประเทศ
พื้นที่ทั้งหมด 7,665 ตร.กม. โดย 95 % เป็นภูเขาและที่ราบสูง เขตภูเขาอยู่ทางทิศตะวันออก แล้วค่อยๆ ราบไปหาที่ราบต่ำจำปาสักทางทิศตะวันตก แบ่งพื้นที่แขวงฯ ดังนี้
ภูเขา
|
มีพื้นที่ประมาณ 498,200 เฮกตาร์ คิดเป็น 65% ของพื้นที่แขวง อยู่ในเมืองดากจึงและเมืองกะลืม เหมาะแก่การปลูกไม้อุตสาหกรรมระยะยาวและเลี้ยงสัตว์ใหญ่
|
ที่ราบสูง
|
มีพื้นที่ประมาณ 230,000 เฮกตาร์ คิดเป็น 30 % ของพื้นที่แขวงฯ อยู่ในเมืองท่าแตง และเมืองละมาม เหมาะแก่การปลูกไม้อุตสาหกรรม โดยเมืองท่าแตงเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์กว่าเมืองอื่น และมีอากาศเย็นจึงเหมาะแก่การเกษตรที่สูง เช่น ทุเรียน ลำไย กาแฟ
|
ที่ราบ
|
38,325 เฮกตาร์ คิดเป็น 5 % ของพื้นที่แขวงฯ เป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเซกองที่มีการทำนามากที่สุดในแขวงฯ
|
- มีที่ดินสำหรับการเพาะปลูก 42,974 เฮกตาร์ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 13,842 เฮกตาร์ ที่ดินทำนา 8,600 เฮกตาร์
ภูมิอากาศ
แตกต่างกันตามลักษณะพื้นที่ ดังนี้
- เมืองดากจึง และเมืองท่าแตง ซึ่งอยู่ในเขตภูเขาและที่สูง อุณหภูมิสูงสุด 33 – 35 องศา อุณหภูมิต่ำสุด 3 – 5 องศา ปริมาณน้ำฝน ประมาณ 2500 มม./ปี
- เมืองกะลืม และเมืองละมาม อากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ย 24 – 25 องศา ปริมาณน้ำฝนประมาณ 1500 มม./ปี
การแบ่งเขตการปกครอง
4 เมือง ได้แก่ ละมาม ท่าแตง ดากจึง กะลืม
ประชากร
- ประชากรในแขวงฯ ประมาณ 129,000 คน (2563)
- ความหนาแน่นของประชากร 16 คน/ตร.กม.
- ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีแรงงานที่ประกอบอาชีพ ในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 1,000 คนเท่านั้น
- มี 10 ชนเผ่า จำนวนมากที่สุดได้แก่ เผ่ากะตู้ (มีเผ่านี้ที่บ้านกันดอยในเขตเมือง) กะเหรี่ยง อาลัก ส่วนจำนวนน้อยที่สุด ได้แก่เผ่าละวี ซึ่งมีเพียง 3 บ้าน
รายได้ต่อหัวต่อปี
- 426 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2555) เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 10.95 (เทียบกับปี 2005 ที่มีรายได้ต่อหัวต่อปี 215 ดอลลาร์สหรัฐ)
- ประชากรร้อยละ 42 ยากจน เป็นหนึ่งในแขวงที่ยากจนที่สุดของ สปป. ลาว โดยเมืองดากจึง และเมืองกะลืม เป็น 2 ใน 47 เมืองที่ยากจนที่สุดใน สปป.ลาว
จุดเด่นของแขวง
- เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูงและภูเขา จึงอุดมสมบูรณ์ด้านธรรมชาติ ป่าไม้ แร่ธาตุ แม่น้ำลำธาร ที่เหมาะแก่การสร้างเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ
- มีชายแดนติดต่อกับเวียดนามที่จังหวัดกวางนัม และมีเส้นทางออกสู่ทะเลที่ดานังและบิงดิง
ทรัพยากรธรรมชาติ
|
(ไม้แปก ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้แคน ไม้จิก ไม้ยาง ไม้กฤษณา ฯลฯ) พื้นที่ป่าคิดเป็นร้อยละ 42 ของพื้นที่แขวงฯ
|
|
อาทิ ถ่านหิน (มีบ่อถ่านหินที่เมืองกะลืม) ทองคำ ทองแดง สังกะสี บอกไซด์ ตะกั่ว (ปัจจุบัน มีบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ทำการค้นหาและสำรวจแร่จำนวน 10 โครงการ โดยมี 1 โครงการที่ได้รับอนุญาตให้ขุดค้นแล้วคือบริษัทของจีน ขุดแร่บอกไซต์ ในเมืองดากจึง และอีก 9 โครงการยังอยู่ระหว่างการสำรวจ)
|
|
มีโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าน้ำตกรวม 7 โครงการ (กำลังผลิตไฟฟ้ารวม 1850 เมกะวัตต์) คือ เซกอง 3 เซกอง 4 เซกอง 5 ดากอีเมิน เซกะหมาน 3 (ที่เมืองดากจึง มีกำลังผลิต 250 เมกะวัตต์ ซึ่งสร้างแล้วเสร็จในปี 2554) เซกะหมาน 4 ห้วยลำพัน
|
|
เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ใหญ่
|
การเกษตร
- สินค้าสำคัญ คือ ยางพารา กาแฟ เร่ว (หมากแหน่ง) ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง
- การเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ วัว ควาย หมู แพะ สัตว์ปีกและปลา โดยเฉพาะวัวที่ส่งออกไปเวียดนามได้ราคาดี
การอุตสาหกรรม
- มีโรงงาน 394 แห่ง (แบ่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ 6 แห่ง ขนาดกลาง 3 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงงานขนาดเล็ก) นอกจากนี้ ยังมีโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ 32 แห่ง
- สินค้าหัตถกรรมที่สำคัญ คือ หัตถกรรมจักสาน และผ้าทอชนเผ่าอาลักและเผ่าตาเหลียง ที่ได้รับความนิยมทั้งภายในและต่างประเทศ
การค้ากับต่างประเทศ
- การลงทุนจากต่างประเทศในแขวงเซกองเพิ่มขึ้น (โดยเฉพาะเวียดนาม) ในปี 2008 มีการลงทุนจากต่างประเทศ 10 โครงการ (เป็นด้านกสิกรรมและป่าไม้ ร้อยละ 97)
- รายชื่อเอกชนไทยลงทุนในแขวงเซกอง จำนวน 4 บริษัท ได้แก่
1)โรงงานทนงศักดิ์เฟอร์นิเจอร์ผลิตเฟอร์นิเจอร์
2)บริษัทอุตสาหกรรมไม้ ไม้สาละวัน ปลูกยางพารา
3)บริษัท MMT 2005 จำกัด ปลูกพืชอุตสาหกรรม
4)บริษัทสุกสะหวันการเกษตร ปลูกไม้กฤษณา
- สินค้าส่งออก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ 68 ของสินค้าส่งออก) สินค้าหัตถกรรม และของป่า
- สินค้านำเข้า ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรที่ทันสมัย อุปกรณ์ก่อสร้างและอื่นๆ
จุดผ่านแดน
จุดผ่านแดนถาวร 1 จุด คือ
1. ด่านดากตะออก (เมืองดากจึง แขวงเซกอง) – ด่านนามยาง (เมืองนามยาง จังหวัดกวางนัม เวียดนาม)
ด่านท้องถิ่น 2 จุด คือ
1. ด่านตาวาง (เมืองกะลืม แขวงเซกอง) – ด่านอาเดิด (เมืองอาเลื่อย จังหวัดเถื่อเทียนเว้ เวียดนาม)
2. ด่านดากปรา (เมืองดากจึง แขวงเซกอง) – ด่านดากเบอโร (เมืองดากไล จังหวัดกอนตูม เวียดนาม)
ธนาคาร
มี 2 แห่ง คือ ธนาคารพัฒนาลาว และธนาคารส่งเสริมกสิกรรม
การท่องเที่ยว
- แขวงเซกองมีแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นบัญชีแล้ว 19 แห่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ 10 แห่ง เช่น น้ำตกตาดหัวคน น้ำตกตาดแฝก น้ำตกตาดเฮีย น้ำตกตาดตะมอรอน และแก่งหลวง (เป็นน้ำตกธรรมชาติที่สวยงามแต่ยังไม่มีการปรับปรุงเพื่อรองรับการท่องเที่ยว) แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรม 4 แห่ง และแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์ 5 แห่ง
- มีที่พักและร้านอาหารจำนวนไม่มาก และยังต้องพัฒนาคุณภาพ (แขวงฯ ต้องการการลงทุนพัฒนาด้านที่พัก ร้านอาหาร ห้องประชุม และพัฒนาบุคลากรบริการ)
คมนาคม
เส้นทางภายในประเทศ
|
เส้นทาง 1H (แยกจากเส้นทางหมายเลข 20 เริ่มที่บ้านแบ่ง เมืองท่าแตง แขวงเซกอง และเมืองปากซอง แขวงจำปาสัก) เป็นถนนราดยาง ความยาว 20 กม. สะดวกในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝน ปัจจุบัน มีโครงการปรัปรุงทำถนนราดยางเส้นทาง 1H ท่าแตง-บ้านแบ่ง (แขวงสาละวัน)
เส้นทางหมายเลข 1.I (เซกอง - อัตตะปือ) เป็นถนนราดยาง ความยาว 77 กม. ใช้ได้ตลอดปี เส้นทางนี้เชื่อมต่อกับเส้นทาง 18 B (เมืองสามัคคีไซ แขวงอัตตะปือ-บ้านแฮด ติด จังหวัด กอนตูมของเวียดนาม)
|
เส้นทางระหว่าง ไทย – ลาว –ประเทศอื่น
|
เส้นทางหมายเลข 16B (เซกอง – ดากจึง) ระยะทาง 122 กม. เป็นถนนลูกรัง ใช้ได้ในฤดูแล้ง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งในอนาคตถ้าถนนนี้สร้างเสร็จ แขวงเซกองจะเป็นเขตเชื่อมต่อด้านตะวันออก-ตะวันตกที่สั้นที่สุด (ระยะทางจากแขวงเซกองถึง จังหวัดดานัง เวียดนาม เพียง 270 กม.) ซึ่งจะทำให้การคมนาคมขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวไปยังภาคกลางของประเทศเวียดนามจะสะดวกขึ้นมากเนื่องจากระยะทางจาก
- เซกองไปยังท่าเรือดานังจะประมาณ 300 กม. (เปรียบเทียบกับจากแขวงสะหวันนะเขตไปยังดานัง ประมาณ 600 กม.)
- ระยะทางจากตัวเมืองอุบลราชธานีถึงท่าเรือดานังประมาณ 560 กม. (เมืองอุบลฯ - ช่องเม็ก – วังเต่า – ปากเซ – ปากซอง – ท่าแตง - ละมาม –ดากจึง –อะเลื่อย- ทางแยกเมืองยาง จังหวัดกวางนัม – ดานัง)
- เซกองไปยังท่าเรือกุยเยิน ประมาณ 500 กม.
|