ข้อมูลทั่วไปแขวงจำปาสัก

ข้อมูลทั่วไปแขวงจำปาสัก

วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ต.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 36,901 view

ที่ตั้ง 
ตั้งอยู่ตอนใต้ของ สปป. ลาว ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 610 กม.

ทิศเหนือ

ติดกับแขวงสาละวัน

ทิศใต้

ติดกับกัมพูชา

ทิศตะวันออก

ติดกับแขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ

ทิศตะวันตก

ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแขวงเดียวทางตอนใต้ของ สปป. ลาว ที่มีพื้นที่บน 2 ฝั่งแม่น้ำโขง


ภูมิประเทศ และ ภูมิอากาศ

  • พื้นที่ 15,410 ตร.กม
  • ภูมิประเทศแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ราบ และพื้นที่สูง

พื้นที่ราบ

(มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 80-120 เมตร) 1,135,000 เฮกตาร์ คิดเป็น 74 % ของพื้นที่แขวง มีฝน 2,279 มล. ต่อปี อากาศร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย 27 ํC เหมาะสำหรับการปลูกข้าวและพืชตระกูลถั่ว

พื้นที่สูง

(มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 400-1,284 เมตร) 406,500 เฮกตาร์ คิดเป็น 26 % ของพื้นที่แขวง มีฝน 3,500 มล. ต่อปี มีความชื้น 80 % อุณหภูมิเฉลี่ย 21 ํC เหมาะปลูกพืชเพื่อการเกษตร เช่น ผัก กาแฟ ชา เร่ว (หมากแหน่ง) ไม้เศรษฐกิจ


การแบ่งเขตการปกครอง 
10 เมือง ได้แก่ ปากเซ บาเจียงจะเลินสุก ปะทุมพอน จำปาสัก สุขุมา มูนละปาโมก ซะนะสมบูน ปากซอง โพนทอง เมืองโขง 

ประชากร

  • ประชากรในแขวงฯ มีจำนวน 753,000 คน (2563)
  • ความหนาแน่นของประชากร 49 คน/ตร.กม.
  • ประชากรวัยแรงงานคิดเป็นร้อยละ 74 ของประชากรแขวง ประกอบอาชีพเกษตรกรรมร้อยละ 74 บริการ (เช่น ค้าขาย ขนส่ง ท่องเที่ยว พนักงานรัฐ/เอกชน) ร้อยละ 23 ว่างงานร้อยละ 3
  • มี 18 ชนเผ่า ได้แก่ ลาวลุ่ม ลาวส่วย ละเวน ผู้ไท กะตาง ตะโอย ยาเหิน ขะแมลาว ละแว ออง อาลัก แงะ กะตู เจง อินหรือโอย กะเสง ม้ง และตะเหลียง



รายได้ต่อหัวต่อปี 
1,097 เหรียญสหรัฐ (ปี 2556) 

ทรัพยากรธรรมชาติ

พื้นที่กสิกรรม

คิดเป็นร้อยละ 37 ของพื้นที่แขวง สินค้าหลัก ได้แก่ ข้าว ไม้แปรรูป กาแฟ พืชผักและผลไม้ โค กระบือ

พื้นที่ป่า

931,349 เฮกตาร์ คิดเป็นร้อยละ 58 ของพื้นที่แขวง มีป่าสงวนแห่งชาติขนาดใหญ่ 3 แห่ง รวมเนื้อที่เป็น 309,000 เฮกตาร์ และมีป่าสงวนของแขวง อีก 11 แห่ง

ทรัพยากรน้ำ

มีแม่น้ำหลายสาย อาทิ เซโดน ห้วยบังเลียง ห้วยโตะโหมะ เซลำเพา ห้วยตวย เซคำพอ ฯลฯ มีน้ำใช้ตลอดปี เหมาะสำหรับพัฒนาเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ การขนส่ง การเกษตร การท่องเที่ยว  ล่าสุดมีโครงการเซเปียน-เซน้ำน้อย  เป็นเขื่อนกั้นห้วยหมากจัน เพื่อผันน้ำมาลงลำน้ำเซเปียน และสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำเซเปียนเพื่อผันน้ำมาลงที่ลำน้ำเซน้ำน้อย และสุดท้ายสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำเซน้ำน้อย เำืพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและผันน้ำลงลำน้ำเซกอง กำลังผลิต 390 เมกะวัตต์ (มีบริษัทผลิตไฟฟ้าให้กับไทยเพื่อรองรับความต้องการในจังหวัดอุบลราชธานีและยโสธร (กำหนดส่งกระแสไฟฟ้าในปี 2561)

แร่ธาตุ

เกลือ (เมืองปะทุมพอน) ดินเหนียว (เมืองปะทุมพอน/เมืองซะนะสมบูน) ทองแดง (เมืองสุขุมา/เมืองจำปาสัก/เมืองโพนทอง/เมืองซะนะสมบูน) แร่บอกไซด์ (เมืองปากซอง) ตะกั่ว (เมืองปะทุมพอน) ถ่านหิน (เมืองปะทุมพอน) และยังมีแหล่งแร่แบไรต์และพาโกไดต์ (เมืองปะทุมพอน) และอะเมทิส (เมืองโขง)


จุดเด่นของแขวง

  • ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เป็นจุดเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างไทย-ลาว-กัมพูชา ตามเส้นทาง อุบลราชธานี-จำปาสัก-อัตตะปือ- สตรึงเตรง(กัมพูชา) และจุดเชื่อมต่อไทย-ลาว-เวียดนามโดยเชื่อม ต่อไทย กับ ทะเลจีนใต้ ตามเส้นทางอุบลราชธานี-จำปาสัก-ดานัง-เว้ หรือ เชื่อมต่อไทยไปยังปาก แม่น้ำโขง ตามเส้นทางอุบลราชธานี-จำปาสัก-โฮจิมินห์-คุชิ-วุงเตา (เวียดนาม)
  • เป็นจุดเชื่อมเครือข่ายคมนาคมทางบกระหว่างประเทศให้กับแขวงอื่นๆ ภายในประเทศ โดยเฉพาะแขวง ที่ไม่มีด่านพรมแดน ได้แก่ แขวงสาละวัน เซกอง และอัตตะปือ ดังนั้น นักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทาง จากจังหวัดอุบลราชธานี ไปยังตอนใต้ของสปป.ลาวจะผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรที่ด่าน ช่องเม็ก-วังเต่า รวมทั้ง สินค้านำเข้า-ส่งออกระหว่างไทย-ลาว
  • มีศักยภาพที่จะพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ ภูมิอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้แขวงสามารถผลิตพืชผลทางเกษตรเพียงพอสำหรับการบริโภค และการส่งออก เช่น ข้าว เมล็ดกาแฟ ผักผลไม้ และพืชไร่ต่างๆ โดยเฉพาะเมือง ปากช่อง ซึ่งเป็นเมือง ที่ตั้งอยู่บริเวณที่ราบสูง มีสภาพอากาศเย็นตลอดทั้งปี และมีฝนตกชุก เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการ เพาะปลูก นอกจากนั้น แขวงมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่น่าสนใจ เช่น น้ำตกหลี่ผี คอนพะเพ็ง และ ประสาทหินวัดพู เป็นต้น
  • เป็น 1 ใน 4 แขวงของ สปป.ลาว ที่เจ้าแขวงมีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนได้เอง หากมูลค่าโครงการ ไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และใช้พื้นที่ไม่เกิน 100 เฮกตาร์



การเกษตร 
เขตทำกสิกรรม 4 เขต 

  • โซน 1 ที่ราบสูงทุ่งเพียง ใจกลางเมืองปากเซ พื้้นที่นี้รัฐบาลส่งเสริมการปลูกกาแฟ ผลไม้เมืองหนาว ชา และสินค้าการเกษตรต่างๆ มีพื้นปลูกทั้งหมด 156,053 เฮกตาร์ 
  • โซน 2 เขตรอยต่อระหว่างที่ราบสูงทุ่งเพียงและเขตที่ลุ่ม  เหมาะแก่การปลูกยางพารา มะม่วงหิมพานต์และผลไม้เมืองหนาว หรือการทำอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้ต่าง ๆ (เป็นที่ั้งโรงงานผบิตกาแฟสำเร็จรูปของดาวเรือง) มีพื้นที่ทั้งหมด 37,556 เฮกตาร์ 
  • โซ 3 8 ตัวเมืองริมฝั่งแม่น้ำโขง (เมืองชะนะสมบูน บาเจียงจะเลินสุก โพนทอง จำปาสัก สุกุมา ปะทุมพอน มุนละปะโมก และเมืองโขง) เหมาะแก่การปลูกข้าว ประมง ปลูกพืชพื้นเมือง ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 
  • เขตส่งเสริมการปลูกไม้กฤษณาและยางพารา 
         มีพื้นที่ปลูกไม้กฤษณา 3,800 เฮกตาร์ และพื้นที่ปลูกยางพารา 14,500 เฮกตาร์ (เวียดนามร่วมลงทุน 
         กับรัฐบาลลาวแล้ว 2โครงการ มีพื้นที่ได้รับสัมปทาน 13,000 เฮกตาร์)
  • เขตส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ 
         มีพื้นที่ทั้งหมด 33,800 เฮกตาร์ ใน 6 จุด



อุตสาหกรรม

  • มีเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ 2,500 เฮกตาร์
  • เขตอุตสาหกรรมใน กม. 12-19 เมืองบาเจียงติดกับเมืองปทุมพอน มีื้พื้นที่ 1,012 เฮกเตอร์ มีการลงทุน ของ Lao Brewery Factory/Champasak Branch และศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ กระเบื้อง
  • โครงการ MOU for Project Development Agreement (PDA) 2 โครงการ คือ 1.Donhsahong (Installed Capacity) 240 MW 2.Xekatam (Installed Capacity) 61 MW
  • Project with MOU 9 โครงการ เช่น Ban Koum Hydro Power 2,080 MW, Ban Ladsue Hydro power 800 MW, โครงการสร้างเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย 390 MW และโครงการต่างๆ 56 MW
  • มีเขื่อนไฟฟ้าน้ำตก 1 แห่ง กำลังผลิต 5 MW/ปี มีสถานีกระจายไฟฟ้า 1 แห่ง กระจายไฟฟ้าได้ 32 MW/ปี
  • ผู้ลงทุนต่างประเทศกำลังศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้า กำลังผลิต 350 MW / ปี ที่เซน้ำน้อย
  • มีโรงงานอุตสาหกรรม 3519 แห่ง เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 13 แห่ง ขนาดกลาง 37 แห่ง ขนาดเล็ก 3469 แห่ง โดยส่วนใหญ่เป็นโรงงานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรและป่าไม้ (ร้อยละ 84)



การค้า

  • มีตลาด 25 แห่ง เป็นระดับแขวง 4 แห่ง เมือง 8 แห่ง หมู่บ้าน 13 แห่ง
  • มีโครงการจะพัฒนาศูนย์การค้า การลงทุนบริการบนทางผ่านและเขตเศรษฐกิจพิเศษในอนาคต



รายชื่อเอกชนไทยที่ลงทุนในแขวงจำปาสัก 

อาทิ

  • บ.ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (เบียร์ช้าง) ลงทุนสร้างสนามกอล์ฟ 18 หลุม ในเมืองปากเซ
  • อุทยานบาเจียง น้ำตกผาส้วม (คุณวิมล กิจบำรุง ชาวไทย เป็นเจ้าของ) 
         มีการแสดงความเป็นอยู่ของชนเผ่าต่างๆ และการแสดงชนเผ่า มีบ้านพัก และ ร้านอาหาร 
         บริการ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมแห่งหนึ่งของแขวง
  • โรงแรม Arawan Riverside ปากเซ ลงทุนโดยนักธุรกิจไทยจาก จ.อุบลราชธานี
  • บ. CP ลาว เลี้ยงไก่ไข่ (บริเวณบาเจียง)
  • มีการปลูกยางพารา ได้รับสัมปทานแล้ว 100 ha อยู่ระหว่างการสร้างสำนักงาน และเริ่มปลูกยางพารา



โครงการของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในแขวงฯ

  • โครงการพัฒนาการเลี้ยงปลาในชนบทแขวงจำปาสักและแขวงเซกอง ระยะเวลาการดำเนินการ 3 ปี (2550-2552) งบประมาณ 10 ล้านบาท โดยดำเนินการฝึกอบรมเพิ่มศักยภาพของบุคลากรลาวในด้านเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ปลา รวมทั้งสนับสนุนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น และปรับปรุงสถานีประมงของแขวงจำปาสักและแขวงเซกองให้เป็นสถานที่ในการผลิตพันธุ์ปลา สำหรับจำหน่ายให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ชนบท 
  • โครงการป้องกันโรคสัตว์ในแขวงจำปาสัก ระยะเวลาการดำเนินการ 3 ปี (2550 - 2552) งบประมาณ 10 ล้านบาท โดยจะพัฒนาระบบการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ พัฒนาระบบการควบคุมโรคระบาดสัตว์ การควบคุมเคลื่อนย้าย สัตว์ การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและ การรายงาน ภาวะโรคระบาด ในระยะแรกจะเน้นโครงการป้องกันโรคปากและ เท้าเปื่อย และโรคเฮโมรายิก-เซพติซีเมีย (คอบวม) 

 

ธนาคาร

ของรัฐ

ธนาคารการค้าต่างประเทศลาว ธนาคารพัฒนาลาว ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม ธนาคารนโยบาย ธนาคารร่วมธุรกิจลาว – เวียด

เอกชน

ธนาคารพงสะหวัน (ลาว) ธนาคารเอซีลิดา (กัมพูชา) ธนาคาร Public (มาเลเซีย) ธนาคารไซง่อน (เวียดนาม) ธนาารการค้าสากล ธนาคารเอสที และธนคารเอเอ็นแซดวี


การท่องเที่ยว 
แขวงจำปาสักมีศักยภาพสูงมากในด้านการท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่องเที่ยว 95 แห่ง ประกอบด้วยแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 41 แห่ง ทางประวัติศาสตร์ 25 แห่ง ทางวัฒนธรรม 29 แห่ง โดยใน 95 แห่งได้รับการสำรวจแล้ว 43 แห่ง และเปิดบริการแล้ว 33 แห่ง 

สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ มรดกโลกที่ปราสาทหินวัดพู น้ำตกคอนพะเพ็ง(ไนแองการาแห่งเอเชีย) น้ำตกหลี่ผี น้ำตกตาดฟาน น้ำตกผาส้วม ปลาโลมา น้ำจืดที่เวินคาม ดอนโขง ฯลฯ 

แขวงจำปาสักมีที่พัก เป็นโรงแรม 25 แห่ง บ้านพัก 100 แห่ง รวม 797 ร้านอาหาร 75 แห่ง บริษัทท่องเที่ยวและสาขา 12 แห่ง 

คมนาคม

ทางบก

 เส้นทางติดต่อไปยังแขวงอื่นๆ 

  1. ถนนหมายเลข 13 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของสปป.ลาว เชื่อมภาคเหนือกับภาคใต้ (ความยาวในแขวงจำปาสัก 204 กิโลเมตร)
  2. ถนนเลขที่ 23 ไปสู่แขวงเซกอง
  3. ถนนเลขที่ 20 ไปแขวงสาละวัน
  4. ถนนเลขที่ 18 ไปแขวงอัตตะปือ

เส้นทางติดต่อไปยังไทย 
ถนนหมายเลข 10 จากช่องเม็ก-ปากเซ ระยะทาง 45 กิโลเมตรเป็นเส้นทางที่สำคัญ โดยเฉพาะการนำนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากประเทศไทยผ่านจังหวัดอุบลราชธานีเข้าสู่แขวงจำปาสัก สำหรับการขนส่ง เส้นทางจากปากเซไปยังท่าเรือคลองเตย ระยะประมาณ 995 กม. 

เส้นทางติดต่อไปยังเวียดนาม

  1. ปากเซ – ลาวบาว จ. กวางจิ ระยะทาง 500 กม.
  2. ปากเซ – ดงฮา จ. กวางจิ ระยะทาง 570 กม.
  3. ปากเซ – ฮานอย ระยะทาง 1,170 กม.
  4. ปากเซ – ดานัง ระยะทาง 820 กม.
  5. ปากเซ - จ.กอนตูม ระยะทาง 419 กม.
  6. ปากเซ – กวางหงาย ระยะทาง 499 กม.
  7. ปากเซ – โฮจิมินห์ ระยะทาง 1,499 กม.

เส้นทางติดต่อไปยังกัมพูชา 
จากปากเซ-ชายแดนกัมพูชา ระยะทาง 203 กม. 

ทางน้ำ

มีเส้นทางน้ำยาว 196 กม. ใช้ได้ทั้งฤดูแล้งและฤดูฝน 

ทางอากาศ

มีสนามบินนานาชาติ 1 แห่ง คือ สนามบินปากเซ มีเที่ยวบินของสายการบินลาวไปยังเวียงจันทน์ และเสียมเรียบ ในระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-ลาว ที่จังหวัดอุบลราชธานี-แขวงจำปาสัก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2547 รัฐบาลไทยได้เห็นชอบให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงสนามบินดังกล่าว มูลค่าโครงการ 320 ล้านบาทในรูปของเงินให้เปล่าร้อยละ 30 และเงินกู้ร้อยละ 70 (แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2553)

 


 

 

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ