ศักยภาพของแขวงสะหวันนะเขต

ศักยภาพของแขวงสะหวันนะเขต

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 มิ.ย. 2562

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 1,451 view

· เป็นแขวงที่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับสองรองจากนครหลวงเวียงจันทน์ มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยของแขวงร้อยละ 12

· เป็นแขวงที่มีพื้นที่มากที่สุด (21,774 ตารางกิโลเมตร) จากทั้งหมด 17 แขวงของลาว (ลาวมีพื้นที่ 236,800 ตร.กม. หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย) เป็นแขวงอู่ข้าวอู่น้ำของ สปป.ลาว เป็นแหล่งเกษตรกรรม ป่าไม้ และเหมืองแร่

· เป็นแขวงที่มีจำนวนประชากรสูงสุด จำนวน 916,948 คน (ลาวมีประชากรเกือบ 7 ล้านคน)

· มีรายได้ต่อหัว/ปี 900 USD (ลาวมีรายได้ต่อหัว/ปี 1,000 USD ไทย 4,719.8 USD)

· มีสะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต) ซึ่งเปิดใช้เมื่อเดือนมกราคม 2550 เป็นจุดเชื่อมระหว่างไทยและเวียดนามผ่านทางเส้นทางหมายเลข 9 อันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC )

· มีเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน ซึ่งเป็นเขตส่งเสริมการลงทุนแห่งแรกในลาว ก่อตั้งขึ้นในปี 2546

· มีมหาวิทยาลัยสะหวันนะเขต เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2552

· มีสนามบินระหว่างประเทศ (มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ-สะหวันนะเขต ให้บริการสัปดาห์ละ 4 วัน)

· แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC ) เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub region : GMS) มีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกจากทะเลอันดามันเข้ากับพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกด้านทะเลจีนใต้ ผ่านพม่า ไทย ลาว และเวียดนาม

· เส้นทาง EWEC มีจุดเชื่อมโยงเมืองสำคัญๆ ได้แก่ พม่า (เมาะลำไย/มะละแหม่ง-เมียวดี เข้าสู่ไทย (แม่สอด จ.ตาก สุโขทัย พิษณุโลก ขอนแก่น กาฬสินธุ์และมุกดาหาร) เข้าสู่ สปป.ลาว (ผ่านแขวง สะหวันนะเขต) และเข้าสู่เวียดนาม (ผ่านชายแดนลาวบาว เมืองกวางตรี-เว้-ดองฮา- และไปสิ้นสุดที่ชายฝั่งเวียดนามที่เมืองดานัง มีระยะทางประมาณ 1,500 กิโลเมตร และมีจุดข้ามแดน ดังนี้

- จุดข้ามแดนเมียวดี–แม่สอด (พม่า-ไทย)

- จุดข้ามแดนมุกดาหาร-สะหวันนะเขต (ไทย-ลาว)

- จุดข้ามแดนแดนสะหวัน-ลาวบาว (ลาว-เวียดนาม)

· ปัจจุบันเส้นทาง EWEC ในพม่ายังไม่เสร็จสมบูรณ์ (missing link) ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้างเส้นทางที่ขาดหายและปรับปรุงเส้นทางเดิมที่มีอยู่แล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปี 2555