วันที่นำเข้าข้อมูล 20 ต.ค. 2564
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
ที่ตั้ง
ระยะห่างจากเวียงจันทน์ 970 กิโลเมตร ไม่มีพรมแดนติดกับไทย
ทิศเหนือ |
ติดกับแขวงเซกอง และแขวงจำปาสัก |
|
ทิศใต้ |
ติดกับจังหวัดสตรึงเตร็ง และ จังหวัด รัตนคีรี กัมพูชา |
|
ทิศตะวันออก |
ติดกับจังหวัด กอนตูม เวียดนาม |
|
ทิศตะวันตก |
ติดกับแขวงจำปาสัก |
ภูมิประเทศ
พื้นที่ทั้งหมด 1,032,000 เฮกตาร์ ประกอบด้วย
เขตที่ราบต่ำ |
222,000 เฮกตาร์ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 78-300 เมตร มีแม่น้ำ 7 สาย ได้แก่ เซกอง เซกะหมาน เซเปียน เซคำพอ เซซุ และน้ำกง |
เขตภูสูง |
ทิศใต้ของสายภูหลวง มีพื้นที่ประมาณ 690,000 เฮคตาร์ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 800-1500 เมตร สูงชันกว่า 15 องศา |
เขตภูหลวง |
มีเนื้อที่ประมาณ 120,000 เฮกตาร์ ความสูงจากระดับน้ำทะเล 300 -1,000 เมตร เป็นภูเขาสูงชัน |
ภูมิอากาศ
การแบ่งเขตการปกครอง
5 เมือง ได้แก่ เมืองไซเสดถา เมืองสามัคคีไซ เมืองสะหนามไซ เมืองพูวง เมืองสานไซ
เขตชุมชนห่างไกล ได้แก่ เขตวังตัด (ติดกับชายแดนเวียดนาม) เมืองสานไซ และเขตสมบูรณ์ (ติดกับชายแดนเวียดนามและกัมพูชา) เมืองพูวง
ประชากร
อาชีพประชากร
รายได้ต่อหัวต่อปี
710 ดอลลาร์สหรัฐ (2553) ประชากรส่วนใหญ่ยังพึ่งตนเองไม่ได้ จากประชาการทั้งหมด 20,000 ครัวเรือน เป็นคนยากจน 9,000 ครัวเรือน และยากจนที่สุด 5,000 ครัวเรือน
ศักยภาพทางเศรษฐกิจ
ในปี 2011-2012 มี GDP ขยายตัวร้อยละ 8.1 โดยแขนงกสิกรรม-ป่าไม้ มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 6.81 คิดเป็นร้อยละ 33.03 ของ GDP แขนงอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.06 คิดเป็นร้อยละ 44.36 และแขนงบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.02 คิดเป็นร้อยละ 22.61 ของ GDP
ที่ดินเพื่อทำการเกษตร |
เขตที่ราบต่ำ มีที่ดินเพื่อการเกษตร 180,000 เฮกตาร์ อยู่ในเขตเมืองสนามไซ เมืองสามัคคีไซ และเมืองไซเสดถา |
|
ป่าไม้ |
608,984.87 เฮกตาร์ คิดเป็น 70 % ของพื้นที่ทั้งหมด ไม้ที่สำคัญคือ ไม้พะยุง ไม้ประดู่ ไม้ยาง ไม้สักและอื่นๆ และมีเนื้อที่ปลูกไม้อุตสาหกรรม 10,000 เฮกตาร์ มีทุ่งหญ้าที่เหมาะสมหรับการเลี้ยงสัตว์ |
|
เนื้อที่ปลูกข้าว |
23,000 เฮกตาร์ แบ่งเป็นข้าวนาปรัง 672 เฮกตาร์ |
|
พืชอุตสาหกรรม |
เช่น มะม่วงหิมพานต์ ชา กาแฟ ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว ต้นไม้ที่ผลิตกระดาษ(ยางบง ไม้ยูคาลิปตัส ไม้กระถิน ไม้ป่อง) ตระกูลไม่ยาง และน้ำมัน (ยางพารา ต้นปาล์ม สบู่ดำ) และอื่นๆ |
|
เลี้ยงสัตว์เชิงพาณิยช์ |
เช่น วัว ควาย แพะ หมู เป็ด ไก่ ปลา |
|
แหล่งน้ำ |
มีสายน้ำ 7 สาย |
|
เส้นทางคมนาคม |
เส้นทาง 18 B เชื่อมไปยัง จังหวัด กอนตูมของเวียดนาม และเส้นทางภายในประเทศซึ่งสามารถเชื่อมไปยังแขวงอื่นๆ และต่อไปไทยที่จังหวัดอุบลราชธานีได้ |
|
แหล่งท่องเที่ยว |
ธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม |
|
เขื่อนไฟฟ้าห้วยเฮาะ |
ส่งกระแสไฟฟ้าให้แขวงอัตตะปือและขายไปต่างประเทศ สำเร็จ การสร้างเขื่อนไฟฟ้าขนาดเล็กห้วยสมองอยู่เมืองสะหนามไช |
|
สินค้าสำคัญของแขวงฯ |
ได้แก่ ไม้แปรรูป ปศุสัตว์ (วัว ควาย แพะ หมู) ข้าว ของป่า สังกะสี |
|
อุตสาหกรรมที่สำคัญ |
คือ การแปรรูปไม้ |
แหล่งเงินทุน
มีระบบคลังเงินงบประมาณระดับแขวง ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารส่งเสริมกสิกรรม ธนาคารนโยบายประจำแขวง ธนาคารการค้าต่างประเทศ และธนาคารพัฒนาลาว
อุตสาหกรรมและการค้า
มีธุรกิจ 309 กิจการ เป็นโรงงานขนาดใหญ่ 2 แห่ง ขนาดกลาง 4 แห่ง และขนาดเล็ก 303 แห่ง ทุนจดทะเบียนทั้งหมด 109,301,440,761 กีบ แม้ว่าสภาพเศรษฐกิจของแขวงยังไม่ดีนักแต่ตัวเลขการส่งออกสินค้า มีมูลค่าถึง 6,722,000 เหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไม้ ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ต้นยาง ลูกสำรองแห้ง ส่วนการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 13,858,000 เหรียญสหรัฐ สินค้านำเข้า เช่น เหล็กเส้น เมล็ดพันธุ์พืช เครื่องจักรกล ยานพาหนะ วัสดุก่อสร้างและอื่นๆ เพื่อใช้ในโครงการต่างๆ
การลงทุนต่างประเทศ
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ADB, SIDA, IFAD, JICA, UNDP, WouYong, EDPI II, UNFPA, AFO, WWF EU.Heal, SFE, IMG, NCA, WFP โดยโครงการที่ได้รับความช่วยเหลือ อาทิ
การท่องเที่ยว
มีคำขวัญว่า “ผืนแผ่นดินคำ ลำน้ำใส ป่าไม้เขียว ท่องเที่ยวหนองฟ้า ชมผ้าเรียงชานไช ไหว้พระองค์ใหญ่แสน พักแดนสามัคคี” และ ”อัตตะปือปึ้ง ขายคำแลกไก่ หัวหยอง ลงมุดน้ำโปโลขึ้นตั้งแต่คำ” (แขวงอัตตะปือเป็นแขวงที่อุดมไปด้วยทองคำ) แขวงอัตตะปือมีวัฒนธรรมที่เก่าแก่ มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีโรงแรม บ้านพัก ร้านอาหาร ที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้
สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของแขวงฯ
ได้แก่ ตาดสามองพะ หนองฟ้า เมืองสานไซ หนองไก่โอด วัดหลวงเมืองเก่า (เมืองไซเสดถา) พระองค์แสน (วัดสะแคะ) หินจองเจือง ตามเส้นทางโฮจิมินห์
การศึกษา
สาธารณสุข
คมนาคม
เส้นทางระหว่าง ไทย – ลาว – เวียดนาม
เส้นทางระหว่าง ไทย – ลาว – กัมพูชา
มีจุดผ่านแดน 2 จุด
1) ด่านสากลพูเกือ (แขวงอัตตะปือ ลาว) – เบ่ออี (จ.กอนตูม เวียดนาม) เปิดทำการ ทุกวัน ระหว่างเวลา 07.00-19.00 น. (มีพิธีเปิดด่านอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2551)
2) ด่านท้องถิ่นเซเปียน(ด่าน 48) ที่เมืองสนามไซ แขวงอัตตะปีอ-เมืองเชียงแตง กัมพูชา เปิดทุกวันระหว่างเวลา 8.00-17.00 น.
รูปภาพประกอบ